มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ในอดีตเริ่มจากเจตนาที่ต้องการสร้างสาธารณประโยชน์แก่ผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาของคุณย่าแปลก เหมือนปิ๋ว และผู้ร่วมก่อตั้ง โดยท่านเห็นว่าสาธารณกุศลที่ยิ่งใหญ่นั้นก็คือการสร้างคน หรือการสร้างสถานศึกษาซึ่งจะเป็นถาวรสถานที่มั่นคง และคงอยู่ตลอดไปในทุกสถานการณ์ เป็นแหล่งสร้างความรู้ สร้างบัณฑิต และสร้างงานบริการแก่สังคมอันก่อให้เกิดกุศลแก่สาธารณประโยชน์ต่อเนื่องตลอดไป โดยจุดเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์เกิดขึ้นจากหลานชายของคุณย่าแปลก เหมือนปิ๋ว คือ ท่านพลกฤษณ ประโมทะกะ ซึ่งถือเป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งสถานศึกษาแห่งนี้ ท่านพลกฤษณ เป็นหลานที่มีความสามารถด้านวิศวกรรม การบริหาร การเงิน การธนาคาร และท่านประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานหลายด้าน
ช่วงก่อนปี พุทธศักราช 2516 ประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนช่างที่มีความรู้และประสบการณ์ในทางช่างอย่างแท้จริง ท่านพลกฤษณ ประโมทะกะ ท่านได้เป็นผู้แทนกสิกรแห่งประเทศไทย ร่วมกับข้าราชการระดับปลัดกระทรวง ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และอธิบดี พรอ้มทั้งนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เข้าร่วมประชุมวิชาการเรื่อง การฟื้นฟูบูรณะชนบทภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ (Southeast Asia Rural Construction) ร่วมกับประเทศต่างๆ ในภาคพื้นเอเชียอาคเนย์ และสหรัฐอเมริกา ณ มหาวิทยาลัย International Christian University ย่านมิตากะ ชานเมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มติที่สำคัญของการประชุมในครั้งนั้น คือมติเห็นชอบในความร่วมมือ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์แห่งนี้ รวมถึงการที่ท่านประเสริฐ สมะลาภา ในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาและผู้ร่วมจัดตั้งมูลนิธิฯ โดยท่านประเสริฐ สมะลาภา สำเร็จการศึกษาปริญาโท ทางวิศวกรรมศาสตร์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย หรือ AIT (Asian Institute of Technology) ซึ่งสถาบันดังกล่าวก่อตั้งโดย SEATO (Southeast Asia Treaty Organization) ท่านจึงเห็นพ้องว่าควรใช้ชื่อวิทยาลัยที่มีชื่อมาจาก ชื่อการประชุมนานาชาติสำคัญที่ท่านพลกฤษณเข้าร่วม และชื่อองค์กร Southeast Asia Treaty Organization ที่ท่านประเสริฐ สมะลาภาได้สำเร็จการศึกษาจากสถาบัน AIT เพื่อให้ดูเป็นสากลและน่าเชื่อถือในวงการการศึกษาด้านวิศวกรรม จึงตั้งชื่อวิทยาลัยว่า Southeast Asia College ซึ่งต่อมาวิทยาลัยได้มีการยกวิทยะฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในนาม มหาวิทยาลัยอเชียอาคเนย์ (Southeast Asia University) จวบจนปัจจุบัน
|
 |
รูปปั้นจำลองคุณย่าแปลก เหมือนปิ๋ว รูปปั้นโลหะสัมฤทธิ์สีดำ จำลองคุณย่าในท่านั่ง สิ่งเคารพสักการะของชาวเอเชียอาคเนย์ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2520 ตั้งอยู่ภายในศาลาเรือนไม้ทรงไทย ภายใต้ร่มไทร และคุ้งน้ำ คล้ายบ้านเดิมของคุณย่าที่ริมคลองบางแวก เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร รูปปั้นจำลองของคุณย่าแปลก เหมือนปิ๋ว นี้ สร้างขึ้น จากแนวคิดริเริ่มของ ท่านมีชัย พริ้งรักษา หลายเขย ของคุณย่า และท่านพลกฤษณ ประโมทะกะ ผู้ร่วมก่อตั้ง ใช้งบประมาณจัดสร้างเป็นเงิน 70,000 บาท (เจ็ดหมื่นบาท) โดย นายพรหม (ไม่ทราบนามสกุล) อาชีพ ช่างหล่อพระและรูปเหมือน ข้างวัดราษฎร์บำรุง ถนนอินทาปัจ (เพชรเกษม 69) แขวงหลักสอง เขตหนองแขม ซึ่งได้ย้ายไปอยู่ริมคลองบางพราน แขวงบางบอน เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ในเวลาต่อมาศาลาเรือนไม้ทรงไทยที่ตั้งรูปปั้นจำลองคุณย่านี้ไดจั้ดสร้างขึ้นใหม่หลายครั้ง ล่าสุดได้จัดสร้างใหม่โดยย้ายมาจากที่เดิมในบริเวณใกล้เคียง เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2538 เวลา 08.00 น. หลังจากอาคารสำนักงานอธิการบดีก่อสร้างเสร็จแล้ว
|
|
|
 |
ต้นไทรย้อย ร้อยปี นอกเหนือจากรูปปั้นจำลองของคุณย่าแปลก เหมือนปิ๋ว ซึ่งตั้งอยู่ในศาลาเรือนไม้ทรงไทยแล้วสิ่งสะดุดตา ที่จะได้พบเห็นควบคู่กันคือ ต้น ไทรเก่าแก่ขนาดใหญ่ ที่แผ่กิ่งก้านทอดยาวปกคลุมเป็นร่มเงาในบริเวณเดียวกันซึ่งเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่อยู่เคียงคู่กับผืนแผ่นดินนี้มานับร้อยปี ก่อนที่จะก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ ต้นไทรนี้ ชื่อไทรย้อยใบแหลม(Ficusbenjamina Linn หรือชื่อสามัญ Benjamin Tree) ซึ่งเป็นต้นไทรพันธุ์เดียวกับที่ พิมายไทรงาม แหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของอำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ต้นไทรนี้ให้ร่มเงาแก่ผืนแผ่นดินผืนนี้มาก่อนที่คุณย่าจะไดรั้บโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินนี้จากผู้จำนอง เมื่อปี พ.ศ. 2456 จึงคาดว่า ต้นไทรนี้จะมีอายุกว่า 100 ปี เนื่องจากคนโบราณมีความเชื่อที่จะไม่ตัดหรือทำลายตน้ ไม้ใหญ่ เช่น ต้นไทรหรือต้นโพธิ์ ต้นไทรนี้จึงเป็นสัญลักษณ์คู่กับมหาวิทยาลัยแห่งนี้ตลอดมา
|
|
|
|
|
 |
ตราสัญลักษณ์ของเอเชียอาคเนย์ ประกอบด้วย เส้น รอบวงบางเป็นเส้นนอกสุด และถัดเข้ามาเป็นเส้นรอบวงหนาห่างจากเส้นรอบวงหนา มีเส้นรอบวงหนาและบางอีกอย่างละเส้น ภายในเนื้อที่ของเสน้ รอบวงตอนบน คือชื่อของมหาวิทยาลัย เป็นอักษรภาษาไทยว่า มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ภายในเนื้อที่ของเส้นรอบวงตอนล่าง คือชื่อของมหาวิทยาลัย เป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า Southeast Asia University ระหว่างชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษด้านซ้ายและด้านขวา เป็นตัวเลขอารบิคแสดงปี พ.ศ. และ ค.ศ. ที่ได้เริ่มก่อตั้งสถาบันแห่งนี้ว่า 2516 และ 1973 ตามลำดับ เนื้อที่บริเวณกลางของวงกลม มีรูปแผนที่ประเทศ ไทยล้อมด้วยภูมิภาคบางส่วนของประเทศเมียนมา ลาว เวียดนามเหนือ เวียดนามใต้กัมพูชา มาเลเซีย และบางส่วนของมหาสมุทรแปซิฟิก และมหาสมุทรอินเดีย เมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งสถาบัน ตราสัญลักษณ์ใชชื้่อวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (Southeast Asia College) และได้เปลี่ยนเป็นมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ (Southeast Asia University) หลังจากได้มีการยกวิทยะฐานะเป็นมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2535 |
|
|
|
|
 |
นาฬิกาเรือนโต นาฬิกาปูนขนาดใหญ่ ยี่หอ้ไซโก้ติดตั้ง ณ อาคารหลังแรกของมหาวิทยาลัย ด้านซ้ายมืออาคารพลกฤษณ ประโมทะกะในปัจจุบัน เป็นนาฬิกาของขวัญที่บริษัท เมืองทอง จำกัด มอบให้ในวันเปิดวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ ด้วยเพราะความศรัทธาในจิตกุศลของผู้ก่อตั้งที่มีเจตนาในการสร้างกุศล ท่านจึงศรัทธาและร่วมสร้างกุศล โดยบริจาคพรอ้มทั้งติดตั้งนาฬิกา SEIKO ขนาดใหญ่ มูลค่า 600,000 บาท (หกแสนบาท) นี้ ให้เป็นของขวัญในวันเปิดสถาบัน เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมพ.ศ. 2516 |
|
|
|
|
 |
สีน้ำเงินและสีทอง เป็นสีประจำสถาบัน โดยสีน้ำเงิน หมายถึง สถาบันพระมหากษัตริย์ สีทอง ใช้แทนสีเหลือง หมายถึง พุทธศาสนา เป็นสีที่คล้ายกับสีของจีวรพระในสมัยโบราณ และคำว่า “ทอง” ฟังแล้วเป็นมงคล
ดังนั้น สีน้ำเงิน และ สีทอง จึงมีนัยถึง การเทิดทูนชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ (สังเกตว่าไม่มีการใช้สีแดง เพราะสีแดง เป็นสัญลักษณ์ของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสมัยนั้น)
ชื่อเต็มภาษาไทย |
: มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ |
อักษรย่อ |
: ม.อ.อ. |
ชื่อเต็มภาษาอังกฤษ |
: Southeast Asia University |
อักษรย่อ |
: SAU |
ปรัชญามหาวิทยาลัย |
: วิริเยนทุกขมจเจติ (บุคคลจะล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร) |
|
|
|
|
|
จะเห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ เป็นสถานศึกษา ระดับเอกชนของไทยที่มุ่งเน้นพัฒนาชีวิตนักศึกษา และมีความเลื่อมใสในคำสั่งสอน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มหาวิทยาลัยแห่งนี้จึงมีองค์ประกอบที่ชัดแจ้งว่า มิได้มุ่งค้ากำไร จากการให้บริการทางการศึกษา แก่เยาวชนของชาติ จึงควรที่ประชาชนผู้มีจิตใจใฝ่ประกอบการกุศลแก่สังคม ประเทศชาติ จักได้ร่วมมือกันตามความรู้ความคิด และความสามารถของแต่ละบุคคล จรรโลงไว้ซึ่งสถาบันการศึกษาแห่งนี้ให้คงอยู่และเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์อันจะยังความสุข ให้แก่คนทั้งหลาย ไปตราบชั่วกาลนาน |